วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาล ให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

ประกาศหลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาล
ให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
****************************
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (5) ประกอบมาตรา 24 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2545 ได้มีมติประกาศหลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
การเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาล ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นให้ดำเนินการได้ดังนี้
ก. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
ข. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกได้
ค. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือก

ก. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้

1. หลักเกณฑ์

1.1 เลื่อนผู้ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในระดับ 2 ระดับ 3 หรือระดับ 4 และสอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
1.2 การเลื่อนกรณีดังกล่าว จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งได้ต่อเมื่อถึงลำดับที่ที่ผู้นั้นสอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับเงินเดือนที่ได้รับให้เป็นไปตามคุณวุฒิที่ประกาศรับสมัคร

2. วิธีการ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันให้ดำเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบแข่งขันสำหรับพนักงานเทศบาลที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนด

3. การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล

ข. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกได้

1. หลักเกณฑ์

1.1 เลื่อนและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งใน สายงานผู้บริหารของเทศบาล
1.2 เลื่อนและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3
1.3 เลื่อนและแต่งตั้งพนักงานครูเทศบาลให้ดำรงตำแหน่งสายงานศึกษานิเทศก์

2. คุณสมบัติ
เป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับที่จะแต่งตั้งและต้องเป็นผู้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น

3. วิธีการ

หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก ให้ดำเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาลที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด

4. การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล

ค. เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือก

1. เลื่อนและแต่งตั้งในระดับควบ

1.1 หลักเกณฑ์

1.1.1 เลื่อนและแต่งตั้งในระดับควบขั้นต้น ได้แก่ เลื่อนและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสายงาน ดังต่อไปนี้
(1) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 1 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 2 ของสายงานนั้น
(2) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 3 ของสายงานนั้น
(3) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานนั้น
(4) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานแพทย์ สายงานทันตแพทย์ และสายงานวิชาการสัตวแพทย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานนั้น

1.1.2 เลื่อนและแต่งตั้งในระดับควบขั้นสูง ได้แก่ เลื่อนและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสายงาน ดังต่อไปนี้

(1)เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 2 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 3 ของสายงานนั้น
(2) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานนั้น
(3) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานนั้น
(4) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานแพทย์ สายงานทันตแพทย์ และสายงานวิชาการสัตวแพทย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 6 ของสายงานนั้น

1.2 คุณสมบัติ
เป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง

1.3 วิธีการ
ให้ดำเนินการโดยการคัดเลือกประเมินบุคคลและการปฏิบัติงานตามวิธีการและแบบประเมินท้ายประกาศหลักเกณฑ์นี้

1.4 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นบันทึกความเห็นว่าควรเลื่อนระดับได้

2. การเลื่อนผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 หรือระดับ 4 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น สำหรับผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต่อไปนี้

2.1 หลักเกณฑ์
2.1.1 ได้รับวุฒิที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น โดยได้รับทุนรัฐบาล ทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนของเทศบาลตามข้อ 11 (1) แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน
2.1.2 ได้รับวุฒิที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษตามข้อ 11 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน

2.2 วิธีการ
หลักสูตรและวิธีการคัดเลือกให้ดำเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับพนักงานเทศบาลที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนด

2.3 การแต่งตั้ง
ให้นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล

3. เลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (เลื่อนไหล)

3.1 ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2

3.1.1 หลักเกณฑ์การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง

(1) ตำแหน่งในกลุ่มงานธุรการหรือบริการทั่วไป และกลุ่มงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของส่วนราชการ ตามบัญชีรายการจำแนกกลุ่มงานตำแหน่งฯ (บัญชีหมายเลข 1)ให้กำหนดตำแหน่งได้ถึงระดับ 5 หรือ 6 ดังนี้
(1.1) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 1 – 3 หรือ 4 สำหรับระดับ 5 ให้มีการประเมินเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(1.2) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 2 – 4 หรือ 5 สำหรับระดับ 6 ให้มีการประเมินเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(2) ตำแหน่งในกลุ่มงานเทคนิคเฉพาะด้าน และกลุ่มงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวตามบัญชีจำแนกกลุ่มงานตำแหน่งฯ (บัญชีหมายเลข 1) ให้กำหนดตำแหน่งได้ถึงระดับ 5 หรือ 6 ดังนี้
(2.1) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 1 – 3 หรือ 4 หรือ 5
(2.2) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 2 – 4 หรือ 5 หรือ 6
ทั้งนี้ การกำหนดตำแหน่งตามข้อ (1) และ (2) ระดับตำแหน่งที่จะปรับปรุงต้องไม่สูงกว่าระดับของตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าที่ตำแหน่งนั้นสังกัด
(3) คณะกรรมการพนักงานเทศบาลเห็นชอบกำหนดตำแหน่งและระดับตำแหน่งตามข้อ (1) และ (2) ตามกรอบและแผนอัตรากำลังของพนักงานเทศบาลยกเว้นการจะปรับตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ให้เป็นระดับ 5 และตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ให้เป็นระดับ 6 ตามข้อ (1) ให้ดำเนินการได้เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นเป็นผู้มีผลงานและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ดังกล่าว และลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องปรับระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(4) การปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นให้ดำเนินการได้ครั้งละไม่เกิน 1 ระดับ การจะพิจารณาปรับระดับตำแหน่งใดให้หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งเพื่อเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาโดยใช้แบบประเมินตำแหน่งสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และระดับ 2) ซึ่งใช้สำหรับการปรับระดับตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ขึ้นเป็นระดับ 5 และตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ขึ้นเป็นระดับ 6 เท่านั้น
(5) ในการดำเนินการเพื่อศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ในชั้นแรกต้องมีคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่ง (Job Description) ที่กำหนดไว้เดิมและที่กำหนดใหม่ และหากรายละเอียดของข้อมูลไม่ชัดเจน อาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยการสัมภาษณ์ตัวข้าราชการหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงการสังเกตการทำงานจริงในพื้นที่ การศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ข้าราชการผู้นั้นรับผิดชอบ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ

3.1.2 หลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้ง
(1) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานนั้น
(2) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานนั้น
(3) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานนั้น
(4) เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 6 ของสายงานนั้น

3.1.3 คุณสมบัติ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนนับถึงวันยื่นแบบประเมิน ดังนี้
(1) เป็นผู้มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในระดับที่จะแต่งตั้ง และ
(2) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสายงานที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งในระดับที่ต่ำกว่าระดับของตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง 1 ระดับ ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยไม่อาจนำระยะเวลาดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นมานับเกื้อกูลได้ เช่น จะเลื่อนเป็นนายช่างโยธา 6 ต้องเป็นนายช่างโยธา 5 มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็นต้น ในกรณีที่ระยะเวลาติดต่อกันไม่ครบ 2 ปี แต่นับรวมหลายๆ ช่วงเวลาแล้วครบ 2 ปี คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลอนุโลมให้นับเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ และ
(3) มีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่แต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคล และระดับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง ดังนี้
คุณวุฒิ เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่ง

ตำแหน่งในสายที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2
- ม.3 / ม.ศ.3 / ม.6 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ระดับ 4 = 9 ปี ระดับ 5 =11 ปี ระดับ 6 = 13 ปี
- ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิชาอาชีพ 1)หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ระดับ 4 = 8 ปีระดับ 5 =10 ปีระดับ 6 = 12 ปี
- ปวช.หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิชาอาชีพ 2)หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ระดับ 4 = 6 ปีระดับ 5 = 8 ปี ระดับ 6 = 10 ปี

ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2
- ปวท.หรืออนุปริญญา 2 ปี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ระดับ 5 = 7 ปี ระดับ 6 = 9 ปี
- ปวส.หรืออนุปริญญา 3 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ระดับ 5= 6 ปี ระดับ 6 = 8 ปี

(3.1) การนับระยะเวลาตามข้อ (3) อาจนำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่น ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดมานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำดังกล่าวได้ตามบัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน (บัญชีหมายเลข 2)
(3.2) การพิจารณาคุณวุฒิตามข้อ (3) ต้องเป็นคุณวุฒิทางการศึกษาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนั้นเท่านั้น และให้พิจารณาจากวุฒิทางการศึกษาที่ระบุไว้ใน ก.พ.7 เป็นหลักในกรณีผู้ได้รับคุณวุฒิเพิ่มเติมภายหลังจากการบรรจุเข้ารับราชการจะต้องยื่นขอบันทึกเพิ่มลงใน ก.พ.7ก่อนจึงจะนำคุณวุฒินั้นมาใช้ในการพิจารณาได้
(4) ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนดังต่อไปนี้
- เลื่อนระดับ 4 ต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณปัจจุบันไม่ต่ำกว่าขั้น 7,560 บาท และได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่าขั้น 7,170 บาท
- เลื่อนระดับ 5 ต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณปัจจุบันไม่ต่ำกว่าขั้น 9,230 บาท และได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่าขั้น 8,870 บาท
- เลื่อนระดับ 6 ต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณปัจจุบันไม่ต่ำกว่าขั้น 11,350 บาท และได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่าขั้น 11,350 บาท

(5) เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ด้วยการประเมินผลงานตามวิธีการที่กำหนด

3.2 ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3

3.2.1 หลักเกณฑ์การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 3 - 5 หรือ 6 ว หรือ 7ว สำหรับตำแหน่งระดับ 6 ว และ 7 ว ให้มี การประเมินเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามบัญชีรายการจำแนกกลุ่มงานตำแหน่งฯ (บัญชีหมายเลข 3) ไว้ดังนี้
(1) ตำแหน่งในกลุ่มงานวิชาการทั่วไป กำหนดระดับของตำแหน่ง 3 – 5 หรือ 6 ว หรือ 7 ว ได้ โดยให้มีการประเมินปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(2) ตำแหน่งในกลุ่มงานวิชาชีพและกลุ่มงานทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว อาจกำหนดระดับตำแหน่ง 3 – 5 หรือ 6 ว หรือ 7 ว โดยให้มีการประเมินปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
ทั้งนี้ การกำหนดระดับตำแหน่งที่จะปรับปรุงต้องไม่สูงกว่าระดับตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าที่ตำแหน่งนั้นสังกัด โดยมีเงื่อนไขว่า
(ก) คณะกรรมการพนักงานเทศบาลเห็นชอบกำหนดตำแหน่งและระดับตำแหน่งตามข้อ 3.2.1 ตามกรอบและแผนอัตรากำลังของพนักงานเทศบาล ยกเว้นการจะปรับตำแหน่งใดให้เป็นระดับ 7 ว ตามข้อ (1) และ (2) ให้ดำเนินการได้เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นเป็นผู้มีผลงานและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นดังกล่าว และลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องปรับระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(ข) การปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นให้ดำเนินการได้ครั้งละไม่เกิน 1 ระดับ การจะพิจารณาปรับระดับตำแหน่งใด ให้หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง เพื่อเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาโดยใช้แบบประเมินตำแหน่งสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3) ซึ่งใช้สำหรับการปรับระดับตำแหน่งของ สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ขึ้นเป็นระดับ 7ว เท่านั้น
(3) ในการดำเนินการเพื่อศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ในชั้นแรกต้องมีคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่ง(Job Description) ที่กำหนดไว้เดิมและที่กำหนดใหม่ และหากรายละเอียดของข้อมูลไม่ชัดเจน อาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยการสัมภาษณ์ตัวข้าราชการหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงการสังเกตการทำงานจริงในพื้นที่ การศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ข้าราชการผู้นั้นรับผิดชอบ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ

3.2.2 หลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้ง
- เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 6 (ว) ของสายงานนั้น
- เลื่อนผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 6 ของสายงานใดที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 7 (ว) ของสายงานนั้น

3.2.3 คุณสมบัติ เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนนับถึงวันยื่นแบบประเมิน ดังนี้
(1) เป็นผู้มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ท.กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และ
(2) มีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิและระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ดังนี้

คุณวุฒิ เลื่อนขั้นดำรงตำแหน่ง

- คุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ระดับ 6 = 6 ปี ระดับ 7 = 7 ปี
- คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า ระดับ 6 = 4 ปี ระดับ 7 = 5 ปี
- คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ระดับ 6 = 2 ปี ระดับ 7 = 3 ปี

(2.1) การนับระยะเวลาตามข้อ (2) อาจนำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่น ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนดมานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำดังกล่าวได้ตามบัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน (บัญชีหมายเลข 4)
(2.2) การพิจารณาคุณวุฒิตามข้อ (2) ต้องเป็นคุณวุฒิทางการศึกษาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนั้นเท่านั้นและให้พิจารณาจากวุฒิทางการศึกษาที่ระบุไว้ในทะเบียนประวัติพนักงานเทศบาลเป็นหลักในกรณีพนักงานเทศบาลผู้ได้รับคุณวุฒิเพิ่มเติมภายหลังจากการบรรจุเข้ารับราชการจะต้องยื่นขอบันทึกเพิ่มลงในทะเบียนประวัติพนักงานเทศบาลก่อนจึงจะนำวุฒินั้นมาใช้ในการพิจารณาได้
(3) ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือน ดังนี้
(3.1) เลื่อนระดับ 6 ต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณปัจจุบันไม่ต่ำกว่าขั้น 11,350 บาท และได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่าขั้น 11,350 บาท
(3.2) เลื่อนระดับ 7 ต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณปัจจุบันไม่ต่ำกว่าขั้น 13,960 บาท และได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่าขั้น 13,960 บาท
(4) เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ด้วยการประเมินผลงานตามวิธีการที่กำหนด

3.3 วิธีการ
(1) ตำแหน่งที่ต้องมีการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้เสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อพิจารณาอนุมัติปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นเป็นผู้มี ผลงานและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นดังกล่าวและลักษณะหน้าที่และ ความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมในสาระสำคัญถึงขนาด ที่จะต้องปรับระดับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(2) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและประเมินผลงาน ประกอบดังนี้
(ก) ประธานให้แต่งตั้งจากข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล หรือผู้ที่เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล ที่ดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะประเมินสูงกว่าผู้ขอประเมินอย่างน้อย 1 ระดับ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านที่มีความชำนาญในสายงานนั้นๆ ซึ่งไม่เคยเป็นข้าราชการมาก่อน
(ข) กรรมการที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาล หรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลที่เคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะประเมินอย่างน้อยเท่ากับระดับตำแหน่งที่ขอประเมิน หรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านที่มีความชำนาญในสายงานนั้น ๆ ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
(ค) เลขานุการให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งเลขานุการ จำนวน 1 คน
คณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะมีกี่คนก็ได้และอาจตั้งเป็นการเฉพาะคราวหรือ ตั้งเป็นการถาวรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละจังหวัด โดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่
(1.1) พิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการประเมินผลงาน กำหนดประเภท จำนวนผลงาน ลักษณะของผลงานและวิธีการสัมภาษณ์ที่จะนำมาใช้ประเมินในแต่ละตำแหน่งให้สอดคล้องกับลักษณะการปฏิบัติงานของตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง
(1.2) พิจารณาคุณสมบัติและประเมินผลงานของบุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
(1.3) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินบุคคลตามที่ ก.ท.จ.มอบหมาย
(3) การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การประเมินบุคคลและผลงานให้เป็นไปตามวิธีการและแบบประเมินแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้
3.4 การแต่งตั้ง ให้นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งโดยผ่านความเห็นชอบ จาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลงานฯ

4. เลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งสายผู้บริหารตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป ให้เลื่อนได้เมื่อมีตำแหน่งในระดับนั้นว่าง โดยให้กระทำได้ดังนี้

4.1 หลักเกณฑ์
4.1.1 เลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 7
(1) มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนตำแหน่ง
(2) ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนในระดับ 7
(3) ในรอบปีที่แล้วจนถึงวันแต่งตั้งต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
(4) ได้ผ่านการสอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกที่ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนด

4.1.2 เลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 8
(1) มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(2) ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนในระดับ 8
(3) ในรอบปีที่แล้วจนถึงวันที่แต่งตั้งต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
(4) ได้ผ่านการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบ คัดเลือกหรือการคัดเลือกที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนด
4.1.3 เลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9
(1) มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(2) ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนในระดับ 9
(3) ในรอบปีที่แล้วจนถึงวันแต่งตั้งต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
(4) ได้ผ่านการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบ คัดเลือกหรือการคัดเลือกที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
4.2 วิธีการ หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกให้ดำเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาลที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
4.3 การแต่งตั้ง นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อนและแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการคัดเลือก

***การเลื่อนระดับของครูและบุคคลากรทางการศึกษา ปัจจุบันมีระเบียบใช้เฉพาะเพื่อการนี้

5. การเลื่อนระดับของพนักงานครูเทศบาลสายงานศึกษานิเทศก์ หมายถึง การเลื่อนและแต่งตั้งของตำแหน่งศึกษานิเทศก์ให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นที่จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและหรือผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
5.1 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 5
5.1.1 หลักเกณฑ์
(1) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 5
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 5
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง และมีผลการปฏิบัติงาน 2 ปี การศึกษาย้อนหลังตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(4) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลการปฏิบัติงานตามข้อ (3) ได้ผลดี โดยผ่านการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
5.1.2 วิธีการ
(1) ให้พนักงานครูเทศบาลผู้ประสงค์จะขอกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น เป็นผู้จัดทำคำขอ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องชี้แจงผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
(2) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ/หัวหน้ากองการศึกษา และปลัดเทศบาลตามลำดับ เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงานและตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แล้วเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา
(3) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาเป็นกรรมการ โดยให้ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานตามแบบประเมินท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยแยกกันประเมินแล้วสรุปผลการพิจารณาเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลต่อไป
5.1.3 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีออกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้ง โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาล.และให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลงานฯ
5.2 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 6
5.2.1 หลักเกณฑ์
(1) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 6
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณที่ขอเลื่อนฯไม่ต่ำกว่าขั้น 10,080 บาท
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง และมีผลการปฏิบัติงาน 2 ปีการศึกษาย้อนหลังตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(4) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลการปฏิบัติงานตามข้อ (3) ได้ผลดี โดยผ่านการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
5.2.2 วิธีการ
(1) ให้พนักงานครูเทศบาลผู้ประสงค์จะขอกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นเป็นผู้จัดทำคำขอ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องชี้แจงผ่านผู้บังคับบัญชาตาม ลำดับชั้น
(2) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ/หัวหน้ากองการศึกษา และปลัดเทศบาลตามลำดับ เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงานและตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วเทศบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา
(3) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาเป็นกรรมการ โดยให้ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานตามแบบประเมินท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยแยกกันประเมินแล้วสรุปผลการพิจารณาเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลต่อไป
5.2.3 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีออกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งฯ โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการผลงานฯ
5.3 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 7
5.3.1 หลักเกณฑ์
(1) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 7
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 7
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง และมีผลการปฏิบัติงาน 3 ปี การศึกษาย้อนหลังตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(4) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลการปฏิบัติงานตามข้อ (3) ให้ผลดี โดยผ่านการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีความชำนาญการพิเศษตามเกณฑ์ที่ ก.ท. กำหนด 3 รายการ ดังนี้
รายการที่ 1 การพิจารณาความชำนาญการพิเศษในการนิเทศการศึกษา
โดยพิจารณารายการดังต่อไปนี้
1. งานนิเทศการเรียนการสอน
2. งานพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
3. งานพัฒนาเทคนิคนิเทศการศึกษา
หากงานนิเทศการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าว ได้ปฏิบัติในลักษณะผู้มีความสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ หรือพัฒนาการทำงานได้ผลงาน ซึ่งมีประโยชน์ปรากฏเป็นที่ยอมรับและนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติงาน เข้าลักษณะผู้ชำนาญการพิเศษในการนิเทศการศึกษา
รายการที่ 2 การพิจารณาผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ๆ และสถานศึกษา
โดยพิจารณาจากผลงานที่ปรากฏดังต่อไปนี้
1. ผลที่ปรากฏต่อครู อาจารย์ โดยพิจารณาจาก
1.1 พฤติกรรมการเรียนการสอนของครู ทำการสอนดีขึ้น
1.2 ครูกระตือรือร้น ตืนตัว ในการที่จะปรับปรุง
การเรียนการสอนอยู่เสมอ
1.3 ครู – อาจารย์ มีความเลื่อมใสศรัทธา
2. ผลที่ปรากฏต่อผู้ร่วมงานอื่น
โดยพิจารณาจากการยอมรับนับถือจากผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ผลที่ปรากฏต่อสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษา
โดยพิจารณาว่า ช่วยให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีผลต่อการศึกษาโดยส่วนรวมได้ตามเป้าหมาย
รายการที่ 3 การพิจารณาผลงานในฐานะวิทยากรผู้ชำนาญการพิเศษ
โดยพิจารณาจากการมีส่วมร่วมและการยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาว่าผลการปฏิบัติงานที่แสดงความชำนาญการพิเศษนั้น สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้
(6) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลงานทางวิชาการตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด คือ จะต้องมีผลงานทางวิชาการเป็นเอกสารเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ซึ่งแสดงความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเห็นว่าใช้ประโยชน์ในการนิเทศการศึกษาหรือการศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยมีรายการพิจารณา ดังนี้
รายการที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
โดยพิจารณาถึงความถึงความถูกต้องของเนื้อหา ความสมบูรณ์ครบถ้วนอย่างเหมาะสมกับลักษณะของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ รวมทั้งการค้นคว้าอ้างอิงที่เป็นที่เชื่อถือได้
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
โดยพิจารณาว่า ผู้จัดทำได้มีความริเริ่มสร้างสรรค์จากของเดิมที่มีอยู่และนำมาใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น หรือจัดทำขึ้นใหม่โดยไม่มีผู้ใดริเริ่มจัดทำขึ้น อนึ่ง ผลงานทางวิชาการนั้นจะต้องจัดทำด้วยตนเองหรือเป็นผู้นำ โดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีหลักฐานแสดงได้
รายการที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
โดยพิจารณาว่า ผลงานนี้จะมีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือเป็นแนวปฏิบัติได้
2. ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน
โดยพิจารณาว่า ผลงานนี้ทำให้ศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียนได้รับความรู้และพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้วิชาการดังกล่าว อย่างได้ผลดียิ่ง และทำให้เกิดประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน ในอันที่จะนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมหรือการประกอบอาชีพ หรือการดำรงชีพได้

(7) เกณฑ์การตัดสิน

รายการประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การตัดสิน
1. การประเมินความชำนาญ
1.1 ความชำนาญการพิเศษในการนิเทศการศึกษา
1.2 ผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ
นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ฯลฯ
1.3 ผลงานในฐานะวิทยากรผู้ชำนาญการพิเศษ
2. การประเมินผลงานทางวิชาการ
2.1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
2.1.1 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
2.1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
2.2.1 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
2.2.2 ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักศึกษา
(15) เกณฑ์ผ่านร้อยละ 65 ของคะแนน เต็ม 70 คะแนน คือ 45.5 คะแนน

เกณฑ์ผ่านร้อยละ 65 ของคะแนน เต็ม 30 คะแนน คือ 19.5 คะแนน รวม 100 เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70

5.3.2 วิธีการ
(1) ให้พนักงานครูเทศบาลผู้ประสงค์จะขอกำหนดให้ได้รับเงินเดือน ในระดับที่สูงขึ้นเป็นผู้จัดทำคำขอ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องชี้แจงผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และผลงานทางวิชาการ
(2) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ/หัวหน้ากองศึกษา และปลัดเทศบาล ตามลำดับ เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงานและตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วเทศบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา
(3) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานความชำนาญการและผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด เป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน ความชำนาญการและผลงานทางวิชาการ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด โดยแยกกันประเมินแล้วสรุปผลการพิจารณาเสนอให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาต่อไป
ในการนี้ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ ตาม (3) ออกไปตรวจสอบหรืออาจเรียกสัมภาษณ์ผู้ขอฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลด้วยก็ได้
5.3.3 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีออกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งฯ โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลงานฯ
5.4 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 8
5.4.1 หลักเกณฑ์
(1) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 8
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 8
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง และมีผลการปฏิบัติงาน 3 ปีการศึกษาย้อนหลังตามเกณฑ์ที่กำหนด
(4) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลการปฏิบัติงานตามข้อ (3) ได้ผลดี โดยผ่านการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
(5) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีความเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ที่ ก.ท.กำหนด 3 รายการ ดังนี้
รายการที่ 1 การพิจารณาความเชี่ยวชาญในการนิเทศการศึกษา โดยพิจารณารายการดังต่อไปนี้
1. งานนิเทศการเรียนการสอน
2. งานพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
3. งานพัฒนาเทคนิคนิเทศการศึกษา
หากงานนิเทศการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าวได้ปฏิบัติในลักษณะผู้มีความสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ หรือพัฒนาการทำงานได้ผลงาน ซึ่งมีประโยชน์ปรากฏเป็นที่ยอมรับในสถาบันวิชาชีพ และผลงานเป็นที่ยอมรับเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติงานเข้าลักษณะผู้เชี่ยวชาญในการนิเทศการศึกษา
รายการที่ 2 การพิจารณาผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ๆ และสถานศึกษา
โดยพิจารณาจากผลงานที่ปรากฏดังต่อไปนี้
1. ผลที่ปรากฏต่อครู อาจารย์ โดยพิจารณาจาก
1.1 พฤติกรรมการเรียนการสอนของครู ทำการสอนดีขึ้น
1.2 ครูกระตือรือร้น ตื่นตัวในการที่จะปรับปรุงการเรียนการสอนอยู่เสมอ
1.3 ครู – อาจารย์ มีความเลื่อมใสศรัทธา
2. ผลที่ปรากฏต่อผู้ร่วมงานอื่น
โดยพิจารณาจากการยอมรับนับถือจากผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ผลที่ปรากฏต่อสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษา
โดยพิจารณาว่า ช่วยให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีผลต่อการศึกษาโดย ส่วนรวมได้
รายการที่ 3 การพิจารณาผลงานในฐานะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
โดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วม และการยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาว่า ผลการปฏิบัติงานที่แสดงความเชี่ยวชาญนั้น สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้
(6) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลงานทางวิชาการตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด คือ จะต้องมีผลงานทางวิชาการเป็นเอกสารเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ซึ่งแสดงความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่ง คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเห็นว่าใช้ประโยชน์ในการนิเทศการศึกษาหรือการศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยมีรายการพิจารณา ดังนี้
รายการที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
โดยพิจารณาถึงความถึงความถูกต้องของเนื้อหา ความสมบูรณ์ครบถ้วนอย่างเหมาะสมกับลักษณะของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ รวมทั้งการค้นคว้าอ้างอิงที่เป็นที่เชื่อถือได้
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
โดยพิจารณาว่า ผู้จัดทำได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากของเดิมที่มีอยู่และนำมาใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น หรือจัดทำขึ้นใหม่โดยมิมีผู้ใดริเริ่มจัดทำขึ้น อนึ่ง ผลงานทางวิชาการนั้นจะต้องจัดทำด้วยตนเองหรือเป็นผู้นำ โดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีหลักฐานแสดงได้

รายการที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยพิจารณา ว่าผลงานนี้จะมีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือเป็นแนวปฏิบัติอย่างได้มีผลดี
2. ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน โดยพิจารณาว่า ผลงานนี้ทำให้ศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน ได้รับความรู้และพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้วิชาการดังกล่าวอย่างได้ผลดียิ่ง และทำให้เกิดประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน ในอันที่จะนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม หรือการประกอบอาชีพ หรือการดำรงชีพได้เป็นอย่างดี
(7) เกณฑ์การตัดสิน

รายการประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การตัดสิน
1. การประเมินความเชี่ยวชาญ
1.1 ความเชี่ยวชาญในการนิเทศการศึกษา
1.2 ผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ
นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ฯลฯ
1.3 ผลงานในฐานะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
2. การประเมินผลงานทางวิชาการ
2.1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
2.1.1 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
2.1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
2.2.1 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
2.2.2 ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักศึกษา 70

(15) เกณฑ์ผ่านร้อยละ 65 ของคะแนน เต็ม 70 คะแนน คือ 45.5 คะแนน
เกณฑ์ผ่านร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน คือ 19.5 คะแนน รวม 100 เกณฑ์ผ่านร้อยละ 75
5.4.2 วิธีการ
(1) ให้พนักงานครูเทศบาลผู้ประสงค์จะขอกำหนดให้ได้รับเงินเดือน ในระดับที่สูงขึ้น เป็นผู้จัดทำคำขอ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องชี้แจงผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และผลงานทางวิชาการ
(2) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ/หัวหน้ากองการศึกษา และปลัดเทศบาลตามลำดับ เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงานและตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วเทศบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา
(3) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานความเชี่ยวชาญและผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยของรัฐและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด เป็นผู้ประเมินผลการ ปฏิบัติงาน ความเชี่ยวชาญและผลงานทางวิชาการ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด โดยแยกกันประเมิน แล้วสรุปผลการพิจารณาเสนอให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาต่อไป
ในการนี้ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ ตาม (3) ออกไปตรวจสอบหรืออาจเรียกสัมภาษณ์ผู้ขอฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงานเทศบาลด้วยก็ได้
5.4.3 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีออกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งฯ โดยผ่านความเห็นชอบ จาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลงานฯ
5.5 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 9
5.5.1 หลักเกณฑ์
(1) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 9
(2) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 9
(3) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
และลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้ง และมีผลการปฏิบัติงาน 3 ปีการศึกษาย้อนหลังตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
(4) ผู้ดำรงตำแหนงนั้น มีผลการปฏิบัติงานตามข้อ (3) ได้ผลดี โดยผ่านการประเมินได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
(5) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีความเชี่ยวชาญพิเศษตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล กำหนด 3 รายการ ดังนี้
รายการที่ 1 การพิจารณาความเชี่ยวชาญพิเศษในการนิเทศการศึกษา
โดยพิจารณารายการดังต่อไปนี้
1. งานนิเทศการเรียนการสอน
2. งานพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
3. งานพัฒนาเทคนิคนิเทศการศึกษา

หากงานนิเทศการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าว ได้ปฏิบัติในลักษณะผู้มีความสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ สังเคราะห์หรือพัฒนาการทำงานได้ ผลงาน ซึ่งมีประโยชน์และมีคุณค่าดีเด่นปรากฏเป็นที่ยอมรับในสถาบันวิชาชีพ และผลงานเป็นที่ยอมรับเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติงานเข้าลักษณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการนิเทศการศึกษา
รายการที่ 2 การพิจารณาผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ๆ และสถานศึกษา
โดยพิจารณาจากผลงานที่ปรากฏดังต่อไปนี้
1. ผลที่ปรากฏต่อครู อาจารย์ โดยพิจารณาจาก
1.1 พฤติกรรมการเรียนการสอนของครู ทำการสอนดีขึ้น
1.2 ครูกระตือรือร้น ตื่นตัวในการที่จะปรับปรุงการเรียนการสอนอยู่เสมอ
1.3 ครู – อาจารย์ มีความเลื่อมใสศรัทธา
2. ผลที่ปรากฏต่อผู้ร่วมงานอื่น
โดยพิจารณาจากการยอมรับนับถือจากผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ผลที่ปรากฏต่อสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษา
โดยพิจารณาว่า ช่วยให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีผลต่อการศึกษาโดยส่วนรวมได้ตามเป้าหมาย
รายการที่ 3 การพิจารณาผลงานในฐานะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
โดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วม และการยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาว่า ผลการปฏิบัติงานที่แสดงความเชี่ยวชาญพิเศษนั้น สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้เป็นอย่างดี
(6) ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น มีผลงานทางวิชาการตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด คือ จะต้องมีผลงานทางวิชาการเป็นเอกสารเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ซึ่งแสดงความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านนั้น ๆ หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลเห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์ในการนิเทศการศึกษาหรือการศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยมีรายการพิจารณา ดังนี้
รายการที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
โดยพิจารณาถึงความถึงความถูกต้องของเนื้อหา ความสมบูรณ์ครบถ้วนอย่างเหมาะสมกับลักษณะของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ รวมทั้งการค้นคว้าอ้างอิงที่เป็นที่เชื่อถือได้
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
โดยพิจารณาว่า ผู้จัดทำได้มีความริเริ่มสร้างสรรค์จากของเดิมที่มีอยู่และนำมาใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น หรือจัดทำขึ้นใหม่โดยมิมีผู้ใดริเริ่มจัดทำขึ้น อนึ่ง ผลงานทางวิชาการนั้น จะต้องจัดทำด้วยตนเองหรือเป็นผู้นำในการจัดทำโดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีหลักฐานแสดงได้
รายการที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาจาก
1. ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
โดยพิจารณาว่า ผลงานนี้จะมีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือเป็นแนวปฏิบัติอย่างได้ผลดียิ่ง
2. ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน
โดยพิจารณาว่า ผลงานนี้ทำให้ศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียนได้รับความรู้และพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้วิชาการดังกล่าว อย่างได้ผลดียิ่ง และทำให้เกิดประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักเรียน ในอันที่จะนำความรู้ ดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมหรือการประกอบอาชีพ หรือการดำรงชีพได้เป็นอย่างดียิ่ง
(7) เกณฑ์การตัดสิน

รายการประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การตัดสิน
1. การประเมินความเชี่ยวชาญพิเศษ
1.1 ความเชี่ยวชาญในการนิเทศการศึกษา
1.2 ผลงานที่ปรากฏในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ
นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ร่วมงานอื่น ฯลฯ
1.3 ผลงานในฐานะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
2. การประเมินผลงานทางวิชาการ
2.1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
2.1.1 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
2.1.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนักศึกษา 70

เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 70 คะแนน คือ 49 คะแนน
เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน คือ 21 คะแนน รายการประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การตัดสิน
2.2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
2.2.1 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
2.2.2 ประโยชน์ต่อศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ และนักศึกษา (15)
รวม 100 เกณฑ์ผ่านร้อยละ 75

5.5.2 วิธีการ
(1) ให้พนักงานครูเทศบาลผู้ประสงค์จะขอกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นเป็นผู้จัดทำคำขอ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องชี้แจงผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
(2) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ/หัวหน้ากองการศึกษา และปลัดเทศบาลตามลำดับ เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงานและตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วเทศบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณา
(3) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความเชี่ยวชาญพิเศษและผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด เป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน ความเชี่ยวชาญพิเศษและผลงานทางวิชาการ ตามแบบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด โดยแยกกันประเมิน แล้วสรุปผลการพิจารณาเสนอ คณะกรรมการพนักงานเทศบาลพิจารณาต่อไป
ในการนี้ คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลอาจแต่งตั้งคณะกรรมการตาม (3) ออกไปตรวจสอบหรืออาจเรียกสัมภาษณ์ผู้ขอฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงาน เทศบาลด้วยก็ได้
5.5.3 การแต่งตั้ง
นายกเทศมนตรีออกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้ง โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพนักงานเทศบาลและให้มีผลไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลงานฯ
การเลื่อนและแต่งตั้งให้พนักงานเทศบาลในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยให้ดำเนินการตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล ข้อ 4 ประกอบแนวทางการเลื่อนเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแนบท้ายประกาศกำหนดนี้

7. ให้เทศบาลพิจารณาตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นค่าตรวจผลงานของคณะกรรมการฯ โดยประสานงานกับคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
8. การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์และในตำแหน่งสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายงานศึกษานิเทศก์หาก เทศบาลต้นสังกัดตรวจสอบ พบว่าพนักงานเทศบาลรายใดแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติของบุคคลเรื่องสัดส่วนการจัดทำผลงาน หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดทำผลงานเป็นเท็จ หรือมีการลอกเลียน ผลงานหรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้เป็นผลงานของตน หรือมีการจ้างวานผู้อื่นทำผลงานให้โดยผลงานที่นำมาจัดทำนั้นไม่ใช่ผลงานที่แท้จริงของตนให้นายกเทศมนตรีสั่งระงับหรือยกเลิกการพิจารณาคำขอประเมินบุคคลของพนักงานเทศบาลแล้วดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานฯ ดังกล่าว รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณีต่อไป
9. ห้ามมิให้ผู้ขอรับการประเมินบุคคลซึ่งถูกระงับหรือยกเลิกการพิจารณาคำขอตามข้อ 6 และข้อ 7 เสนอขอรับการประเมินบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์และในตำแหน่งสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันถูกระงับหรือยกเลิกการพิจารณาคำขอ
10. ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการส่งคำขอประเมินบุคคลที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลประกอบคำขอประเมินบุคคลให้ถูกต้อง และในกรณีที่ผู้ขอรับการประเมินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีกรณีสมควรถูกดำเนินการทางวินัยตามที่กำหนดในข้อ 6 และข้อ 7 หากผู้บังคับบัญชา ผู้ใดละเลย ไม่ดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชานั้นกระทำผิดวินัยตามข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและ การดำเนินการทางวินัย
ง. การให้ได้รับเงินเดือน
สำหรับพนักงานเทศบาลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นให้เป็นไป ตามประกาศกำหนดการให้พนักงานเทศบาลได้รับเงินเดือนที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลกำหนด
จ. การเลื่อนพนักงานเทศบาล
การเลื่อนพนักงานเทศบาลที่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงหรือมีคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกฟ้องร้องคดีอาญาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตั้งแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาอาจเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานผู้นั้นได้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545


ประชา มาลีนนท์
(นายประชา มาลีนนท์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น